ดังนั้น ตามบทบัญญัติข้างต้นในอนุมาตรา ๔
หากผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ
หมายความรวมถึงข้อมูลทุกชนิดที่สามารถนำเข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ เช่น รูปภาพ ข้อความ หรือคลิปวีดีโอ
และ "ที่มีลักษณะอันลามก" และ "ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้"
คือไม่มีการปิดกั้น มีความเป็นสาธารณะ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
หากกระทำการเข้าทั้งสามประเด็นข้างต้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แต่ตามตัวอย่างข้างต้นคำว่า"ที่มีลักษณะอันลามก" ยังไม่สามารถตอบได้อย่างแน่ชัดถึงเกณ์ในการวินิจฉัย
ซึ่งผู้เขียนจะยกตัวอย่างบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องและการตัดสินพิพากษาจากศาลฎีกาประกอบ
ก่อนอื่นผู้เขียนอยากนำเสนอบทนิยามตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นอันดับแรก
ลามก [–มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
อนาจาร [อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย;
(กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย
หรือกระทําการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทําให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่น ในด้านความดีงาม. (ป., ส.).
และในการจัดลักษณะของสื่อลามกของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นถูกจัดไว้ใน ๒ ลักษณะ[๑]
๑.Pornography ซึ่งหมายถึงการแสดงพฤติกรรมทางเพศที่นำไปสู้การกระตุ้นทางเพศ
หรือ ยั่วยุกามอารมณ์หรือทำให้เกิดกำหนัด ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือภาพถ่าย
๒.Obscenity หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกอันน่ารังเกียจ เช่น
แสดงถ้อยคำหรือวัตถุที่มีลักษณะเป็นสิ่งของทางเพศในลักษณะที่หยาบช้าน่าเกลียด